โทรศัพท์ / โทรสาร

053-885591,053-885583

อีเมล์ติดต่อ

SatitCMRU@cmru.ac.th

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
 

ทำไมต้องเรียนภาษาไทย

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ   นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม  ประเพณี  และสุนทรียภาพ   เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้  อนุรักษ์  และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

 

เรียนรู้อะไรในภาษาไทย

 ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง

  • การอ่าน  การอ่านออกเสียงคำ  ประโยค   การอ่านบทร้อยแก้ว   คำประพันธ์ชนิดต่างๆ   การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ  และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน   เพื่อนำไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

  • การเขียน  การเขียนสะกดตามอักขรวิธี   การเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยคำและรูปแบบต่างๆ ของการเขียน  ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ  ย่อความ  รายงานชนิดต่างๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์  และเขียนเชิงสร้างสรรค์

  • การฟัง การดู และการพูด  การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ  การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก   พูดลำดับเรื่องราวต่างๆ   อย่างเป็นเหตุเป็นผล   การพูดในโอกาสต่างๆ  ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  และการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ

  • หลักการใช้ภาษาไทย  ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย  การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล  การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

  • วรรณคดีและวรรณกรรม      วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด คุณค่าของงานประพันธ์  และความเพลิดเพลิน  การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่  บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย   ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด  ค่านิยม  ขนบธรรมเนียมประเพณี   เรื่องราวของสังคมในอดีต   และความงดงามของภาษา   เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจ      ในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑    การอ่าน

มาตรฐาน  ท ๑.๑        ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน    

สาระที่ ๒    การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.๑            ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                 

สาระที่ ๓    การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน ท ๓.๑        สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน  ท ๔.๑       เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ                              

สาระที่ ๕    วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน  ท ๕.๑       เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

                                

คุณภาพผู้เรียน

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

  • อ่านออกเสียงคำ  คำคล้องจอง ข้อความ  เรื่องสั้นๆ  และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ถูกต้องคล่องแคล่ว  เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน  ตั้งคำถามเชิงเหตุผล  ลำดับเหตุการณ์  คาดคะเนเหตุการณ์   สรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน  ปฏิบัติตามคำสั่ง  คำอธิบายจากเรื่องที่อ่านได้   เข้าใจความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ   แผนที่  และแผนภูมิ    อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ   และ     มีมารยาทในการอ่าน

  • มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  เขียนบรรยาย  บันทึกประจำวัน  เขียนจดหมายลาครู   เขียนเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์  เขียนเรื่องตามจินตนาการและมีมารยาทในการเขียน

  • เล่ารายละเอียดและบอกสาระสำคัญ   ตั้งคำถาม   ตอบคำถาม   รวมทั้งพูดแสดงความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสารเล่าประสบการณ์และพูดแนะนำ   หรือพูดเชิญชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม  และมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด

  • สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ   ความแตกต่างของคำและพยางค์   หน้าที่ของคำ  ในประโยค   มีทักษะการใช้พจนานุกรมในการค้นหาความหมายของคำ   แต่งประโยคง่ายๆ   แต่ง     คำคล้องจอง  แต่งคำขวัญ  และเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ

  • เข้าใจและสามารถสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีที่อ่าน รู้จักเพลงพื้นบ้าน  เพลงกล่อมเด็ก   ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น  ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรอง         ที่มีคุณค่าตามความสนใจได้

     จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

  • อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง   อธิบายความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำ  ประโยค  ข้อความ  สำนวนโวหาร  จากเรื่องที่อ่าน   เข้าใจคำแนะนำ  คำอธิบายในคู่มือต่างๆ  แยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง    รวมทั้งจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้          มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน   และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน

  • มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด   เขียนสะกดคำ  แต่งประโยคและเขียนข้อความ   ตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม   ใช้แผนภาพ  โครงเรื่องและแผนภาพความคิด  เพื่อพัฒนางานเขียน  เขียนเรียงความ  ย่อความ  จดหมายส่วนตัว  กรอกแบบรายการต่างๆ   เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น  เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์  และมีมารยาทในการเขียน

  • พูดแสดงความรู้ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  เล่าเรื่องย่อหรือสรุปจากเรื่องที่ฟังและดู    ตั้งคำถาม  ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู  รวมทั้งประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูโฆษณาอย่างมีเหตุผล  พูดตามลำดับขั้นตอนเรื่องต่างๆ  อย่างชัดเจน  พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจาก     การฟัง  การดู  การสนทนา  และพูดโน้มน้าวได้อย่างมีเหตุผล  รวมทั้งมีมารยาทในการดูและพูด

  • สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ  สำนวน  คำพังเพยและสุภาษิต   รู้และเข้าใจ      ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค   ชนิดของประโยค     และคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย   ใช้   คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม   แต่งประโยค   แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่     กลอนสุภาพ และกาพย์ยานี ๑๑

  • เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  เล่านิทานพื้นบ้าน  ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น  นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  และท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดได้

  •